เบียร์นับเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันทั่วโลก เพราะการดื่มเบียร์ไม่ได้สลับซับซ้อน อีกทั้งยังหาซื้อ หาดื่มได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับประเภทของเบียร์ว่าเบียร์ที่คนส่วนใหญ่นิยมดื่มกันนั้นมีประเภทใดบ้าง
เบียร์ทำมาจากอะไร
การจะเข้าใจว่าเบียร์แต่ละชนิดต่างกันยังไง เราต้องเข้าใจก่อนว่าเบียร์ทำมาจากอะไร หลัก ๆ เบียร์นั้นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ
1.มอลต์
มอลต์ ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดธัญพีชนำ ใช้ในการหมักเบียร์ โดยแต่ละผู้ผลิตอาจจะใช้มอลต์ที่ต่างกันก็ส่งผลให้รสชาติ สีต่างกันด้วย อีกทั้งยังทำให้เกิดน้ำตาลเพื่อให้ยีสต์กินอีกด้วย
2.ยีสต์
ยีสต์ เป็นจุลินทรีย์ที่กินน้ำตาล เพื่อให้เกิดแอลกอฮอล์และก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปกติยีสต์จะมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ยีสต์ประเภทหมักลอยผิว และ หมักนอนก้น
3.ฮอบส์
ฮอบส์ เป็นดอกไม้ ในเบียร์ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่นและเพิ่มอายุของเบียร์
4.น้ำ
เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบหลัก มีมากถึง 90 – 95% โดยก็ต้องดูที่แร่ธาตุในน้ำเพราะมีผลต่อรสชาติของเบียร์เช่นกัน
ประเภทของเบียร์
1. Ale Beer (เอล เบียร์)
Ale Beer เป็นเบียร์ที่เกิดจากการใช้ยีสต์ประเภทหมักลอยผิว (top-fermenting yeast) ซึ่งกระบวนการหมักจะเกิดขึ้นบริเวณด้านบนของถังหมักเบียร์ จึงนิยมเรียกการหมักแบบนี้ว่า เป็น Top-Fermentation และจะใช้อุณหภูมิอบอุ่นปานกลาง (ประมาณ 15-24 องศา เซลเซียส์ ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าการหมักเบียร์ลาเกอร์) เอลจะใช้เวลาหมักประมาณ 7-8 วัน (หรือน้อยกว่า) ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าลาเกอร์ เอลเป็นเบียร์ที่มีสีเข้ม บอดี้เข้มข้นและรสชาติแรงกว่า รสขมกว่าและดีกรีสูงกว่าลาเกอร์ โดยทั่วไปคือมีดีกรีประมาณ 5.5 -6.5 %โดยมากมักจะมีกลิ่นของผลไม้ เครื่องเทศ การหมักเบียร์เอล เป็นสไตล์ที่นิยมสำหรับทำไว้ดื่มเองที่บ้าน หรือสำหรับโรงเบียร์ขนาดเล็ก ที่ไม่มีกำลังการผลิตสูง ประเภทของเบียร์เอลยังแตกแขนงไปได้อีก ดังนี้
Wear Beer เป็นเบียร์ที่มีความโดดเด่นด้วยสีอันเหลืองทอง มีรสสัมผัสสดชื่น เหมาะที่จะดื่มคู่กับ หมู สลัด และไก่
Pale Ale เป็นเบียร์มีลักษณะสะดุดตาด้วยสีทองสว่าง ให้รสสัมผัสของข้าวมอลต์ ควรดื่มคู่กับปลา เนื้อ และอาหารทะเล
India Plae Ale เป็นเบียร์ที่ให้สีทองสว่าง จนถึงเข้ม มีรสติดขมที่ปลายลิ้น ควรดื่มคู่กับเนื้อและปลา
Amber Ale มีรสชาติค่อนไปทางหวานจากการใส่มอลต์ที่ค่อนข้างไปทางหวาน สามารถดื่มคู่กับหมู เนื้อปลา
Stout เป็นเเบียร์ที่นำข้าวมอลต์หรือข้าวบาร์เลย์ไปคั่วก่อนจะนำไปหมักและผสม Hop เพียงเล็กน้อย จึงทำให้รสชาติค่อนข้างหวาน และให้กลิ่นที่คล้ายช็อกโกแลต และเมล็ดกาแฟคั่ว
Poter ผลิตจากข้าวมอลต์ที่ผ่านการคั่วและอบด้วยความร้อนที่สูงกว่า Stout จึงทำให้ได้รสสัมผัสที่หนักแน่น แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสดชื่น เหมาะกับอาหารหนัก ๆ เช่น เนื้อแดง
2. Lager Beer (ลาเกอร์ เบียร์)
Lager Beer เป็นเบียร์ที่มีกระบวนการผลิตโดยการใช้ยีสต์ประเภทหมักนอนก้น (bottom-fermentation yeast) ซึ่งกระบวนการหมักนั้นจะเกิดขึ้นบริเวณด้านล่างของถังหมักเบียร์ จึงมักนิยมเรียกการหมักแบบนี้ว่า เป็น Bottom -Fermentation นิยมใช้อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศา หลังจากเสร็จกระบวนการหมักแล้ว ลาเกอร์จะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน ก่อนจะนำออกบริโภค ซึ่งจะทำให้เบียร์มีสีที่ใส และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง คำว่า “ลาเกอร์” นั้นเป็นภาษาเยอรมัน หมายถึง การเก็บรักษา เนื่องจากกระบวนการเก็บรักษาเบียร์ไว้ในที่เย็นจัดในระหว่างการหมักบ่มเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ได้เบียร์ที่ไม่ขุ่น โดยลาเกอร์ เบียร์นั้นจะมีทั้งสีอ่อนไปจนถึงสีเข้ม แต่ส่วนใหญ่แล้วสีจะค่อนข้างไปในทางอ่อนเมื่อเทียบกับเอล มีทั้งรสที่หวานจนถึงขม มีบอดี้ที่บางเบา ให้ความสดชื่น มีรสฮ็อปที่ค่อนข้างโดดเด่น มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง และมีระดับแอลกอฮอล์อยู่ที่ประมาณ 3-5 % เบียร์ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นเบียร์ลาเกอร์ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติต่างกันไป สามารถแบ่งแยกย่อยได้ ดังนี้
Pale Lager เป็นเบียร์ยอดนิยมของทั่วโลก มีสีสว่างสดใส สัมผัสมอลต์ค่อนข้างหนักแน่นและสดชื่อน ฟองละเอียด นิยมดื่มคู่กันเนื้อ ปลา และอาหารรสจัด
Bock Beer เป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ให้สีที่ค่อนข้างเข้ม มีความโดดเด่นด้วยกลิ่นของ Hop และ Malt นิยมดื่มคู่กันเนื้อหมู เนื้อวัว และแฮม
Dunkle Beer เป็นลาเกอร์เบียร์ที่มาจากประเทศเยอรมนี มีสีที่ค่อนข้างเข้ม มีรสชาติของกาแฟ ช็อกโกแลต และชะเอม ควรดื่มควบคู่กับเนื้อวัวและผัก
3. Lambic Beer (ลัมบิค เบียร์)
Lambic Beerเป็นเบียร์อีกชนิดหนึ่งที่มีมานานมากแล้ว เป็นเบียร์ที่มีรสเปรี้ยว ที่เกิดจากกระบวนการหมักตามธรรมชาติ การผลิตเบียร์ชนิดนี้ใช้เวลานานมาก เป็นการหมักเบียร์แบบโบราณ โดยเริ่มจากการต้ม Wort และทิ้งไว้ให้เย็นในบ่อ หรือภาชนะที่ใหญ่แต่ไม่ลึกมาก เพื่อให้มีพื้นที่ผิวหน้าสัมผัสกับอากาศมาก เพราะวิธีนี้จะไม่เติมยีสต์ลงไปโดยตรง เขาจะให้ยีสต์และจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในอากาศมาเกาะที่ผิวหน้าเบียร์โดยตรง ซึ่งปริมาณยีสต์ที่มีอยู่ในอากาศมีปริมาณน้อย ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาหมักนาน การผลิตจะผลิตในช่วงฤดูหนาวต้นเดือนสิงหาคมจนถึงเมษายน โดยบ่มในถังไม้โอ๊กก่อนนำมาดื่ม
เบียร์แต่ละประเภทก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ใครอยากรู้ความแตกต่างของเบียร์ทั้ง 3 ประเภทว่าจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณํเฉพาะตัวอย่างไรบ้างก็สามารถไปหามาลองดื่มกันได้เลย