เบียร์ดำที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลายต้องยกให้ Guinness ที่เป็นเบียร์ดำสัญชาติไอร์แลนด์ โดยเบียร์ชนิดนี้มีความโดดเด่นทั้งด้านรสสัมผัสและเนื้อสัมผัส ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ดื่มเบียร์ดำ Guinness เป็นต้องติดใจในรสชาติและกลับมาลิ้มลองอีกครั้งอย่างแน่นอน
ทำความรู้จักกับ Guinness
Guinness เป็นเบียร์ที่คิดค้นโดย Arthur Guinness ชาวไอร์แลนด์ ในปี 1759 เป็นการพัฒนาเบียร์ดำอย่าง Porter ให้มีรสชาติถูกปากคนไอแลนด์ที่มากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ให้สูงขึ้น เน้นให้มีความเข้มข้นสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มฟองเบียร์นุ่ม ๆ รสชาติเข้มเข้าไปในตัวเบียร์ด้วยการเพิ่มก๊าซไนโตรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในขั้นตอนการผลิต ทำให้ฟองเบียร์มีปริมาณมากขึ้น นุ่มขึ้นและมีรสชาติดี นับเป็นการพัฒนาต่อยอดเบียร์ที่ถูกปากคนไอแลนด์จนทำให้มียอดขายสูงที่สุดในยุคนั้นเลยทีเดียว เหมาะกับสโลแกนที่ใช้ว่า “Guinness is Good for You” ซึ่งปัจจุบันนี้ Guinness ยังคงรักษาลักษณะและรสชาติเหมือนเดิม แต่ลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงเพื่อให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจและวัตถุดิบในปัจจุบันนั่นเอง
ขั้นตอนการผลิต Guinness
ขั้นตอนการผลิตเบียร์ Guinness มีขั้นตอนที่เหมือนการผลิตเบียร์ดำทั่วไป แต่ว่ามีการเพิ่มส่วนผสมบางชนิดเข้าไปเพื่อให้เบียร์มีลักษณะที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนการผลิตเบียร์มีดังนี้
1.นำน้ำบาร์เลย์และมอลต์ที่ผ่านการคั่วหรืออบจนมีสีเข้ม นำไปต้มในน้ำ เพื่อเปลี่ยนแป้งของข้าวบาร์เลย์และมอลต์ให้กลายเป็นน้ำตาล
2.ทำการแยก wert ออกจากน้ำต้มข้าวมอลต์ ทำการต้ม wert ต่อ การต้มนี้เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซต์ที่อยู่ wert
3.เติม Hops ลงไปใน wert ทำการกวนต่อไปจนกว่าตะกอนของโปรตีนและกากของ Hops ที่ใส่ลงไปตกตะกอนไปอยู่ที่ก้นของถังหมัก ในช่วงแรกของการหมัก Guinness ใช้ถังหมักเบียร์แบบไม้ ต่อมาในปี 1960 และใช้ถังอลูมิเนียมในการหมักเบียร์แทน เรียกถังนี้ว่า “ปอดเหล็ก”
4.ทำการ cooling wert และเติมก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์กับยีสต์เข้าไปใน wert
5.นำ wert ใส่ลงในถังหมัก ทำการหมักที่อุณหภูมิประมาณ 14 องศาเซลเซียส นาน 7-14 วัน ในช่วงที่ wert ทำการหมักอยู่ในถังนี้ ยีสต์จะทำการเปลี่ยนน้ำตาลที่อยู่ใน wert เกิดเป็นแอลกอฮอล์กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ แต่สำหรับเบียร์ดำ Guinness มีการใช้ก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในกระบวนการด้วย ทำให้ฟองเบียร์ที่เกิดขึ้นมีขนาดที่เล็กกว่าฟองเบียร์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ส่งผลให้ฟองเบียร์มีความนุ่มละมุนลิ้น เรียกวิธีการใส่ก๊าซไนโตรเจนไปในเบียร์นี้ว่า “Foreign Extra Stout” และเมื่อครบกำหนดการหมักให้ทำการลดอุณหภูมิลงเหลือ 4 องศาเซลเซียส เพื่อยับยั้งการทำงานของยีสต์ในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์
6.ทำการบ่มต่อที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสนาน 10 วัน จะได้เบียร์ดำที่มีรสชาติตามต้องการ ซึ่งเบียร์ในขั้นตอนนี้จะมีกากตะกอนหลงเหลืออยู่บ้างจึงต้องทำการกรอง เพื่อให้ได้เบียร์ที่ไม่มีกากตะกอนหลงเหลือ
จะเห็นว่าขั้นตอนการผลิตเบียร์ดำ Guinness มีขั้นตอนที่บ่งบอกถึงความใส่ใจและความตั้งใจพัฒนาให้รสชาติถูกใจคนไอแลนด์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่ชอบดื่มเบียร์ทั่วโลกอีกด้วย
ชนิดของเบียร์ดำ Guinness
เบียร์ดำ Guinness มีการพัฒนารูปแบบและขั้นตอนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้เบียร์ดำ Guinness มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยม คือ
1.Guinness Draft – Guinness Draft
คือ เบียร์ที่ปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับ 4.1-4.3 (ABV) บรรจุในถังแบบขวดและกระป๋องวิตเจ็ต
2.Guinness Original / Extra Stout
คือ เบียร์ชนิดที่ขายดีที่สุดมีปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับ 4.3 (ABV)
3.Guinness Foreign Extra Stout
คือ เบียร์มีปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับ 7.5 – 8 (ABV) เบียร์ชนิดนี้มีการผสม Hops แบบฟูลเลอร ทำการหมักด้วยลักษณะเฉพาะที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง เพื่อให้ได้เบียร์ที่มีระดับแอลกอฮอล์ตามต้องการ
ที่กล่าวมานี้เป็นชนิดของเบียร์ Guinness เด่น ๆ ที่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มสูงมาก
เทคนิคการรินเบียร์ Guinness
การดื่มเบียร์ Guinness มีเทคนิคการรินเบียร์ใส่แก้ว เพื่อให้ได้รสชาติเบียร์ที่ดีที่สุด โดยตอนแรกให้รินเบียร์ใส่แก้วประมาณ 80% ของแก้ว ตั้งทิ้งไว้สักครู่รอให้ฟองเบียร์กลายเป็นน้ำเบียร์สีดำ แล้วจึงรินเบียร์เพิ่มอีก 20% ส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นฟองลอยอยู่ด้านบน นี้เป็นลักษณะเบียร์ที่พร้อมเสิร์ฟที่เหมาะสมกับการดื่มเบียร์ดำ Guinness มากที่สุด เนื่องจากการเสิร์ฟเบียร์แบบนี้จะทำให้ผู้ดื่มได้สัมผัสกับฟองเบียร์และรสชาติของเบียร์อย่างครบถ้วน
นอกเหนือจากสามสายพันธุ์หลักแล้ว กินเนสส์ยังได้สร้างสรรค์ผลงานของ Brews อื่น ๆ อีกมากมายตลอดประวัติศาสตร์ของบริษัท รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนจำกัดอีกด้วย
Credit : ที่พัก , เสริมสวย , สัตว์เลี้ยง , ต้นไม้ , แฟชั่นผู้หญิง , เครื่องสำอาง