เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะรู้จักเรื่องของการคราฟท์เบียร์กันมาบ้างพอสมควร ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าเรื่องของเบียร์คราฟไทยนี้เอาจริง ๆ มีคนที่เก่ง ๆ และมีฝีมือดีกันเยอะมาก ๆ แต่ครั้นเมื่อจะนำมาทำให้ถูกกฎหมายหรือมาทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจังแล้วเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับสุราของไทยค่อนข้างที่จะยุ่งยาก มีข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ทำให้บางคนก็เสียสิทธิส่วนนี้ไปได้ง่าย ๆ ทำให้เบียร์คราฟไทยที่ที่คนไทยเป็นคนคิดขึ้นต้องเปลี่ยนไปจดทะเบียนที่ต่างประเทศ แล้วทำไมถึงต้องไปที่ต่างประเทศ วันนี้บทความของเรามีคำตอบ
เบียร์คราฟไทย ทำไมไม่จดทะเบียนที่ไทย ที่นี่มีคำตอบ
เบียร์คราฟไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ในวงการการคราฟเบียร์ให้เกิดความจริงจังจนเป็นธุรกิจนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวนั่นเอง เพราะด้วยเรื่องของกฎหมายที่จะต้องทำให้ถูกต้องของเบียร์คราฟไทยนั้นมีเรื่องข้อจำกัดที่ยากจะทำตามได้ ซึ่งก็มีดังนี้
- การขออนุญาตจดทะเบียนเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
- ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจํานวนหุ้นทั้งหมด
- ต้องสามารถผลิตได้อย่างน้อย 10 ล้านลิตรต่อปี และมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี
ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นไปตามกฎกระทรวง การอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 ของประเทศไทยว่า ในการสร้างแบรนด์คราฟต์เบียร์นั่นเอง ซึ่งคนไทยที่ต้องการมีแบรนด์เบียร์คราฟเป็นของตัวเองที่มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 10 ล้านบาท เช่นนี้นั้น ก็เลือกที่จะไปที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างประเทศเวียดนาม ที่เรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับการผลิตและขายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ค่อนข้างเปิดกว้างมากกว่า โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ต้องลงทะเบียนการค้าอย่างถูกกฎหมาย
- ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบียร์จากกรมตรวจสอบคุณภาพสินค้า
- ไม่มีการจำกัดสัญชาตินักลงทุนจะเป็นชาวเวียดนามหรือชาวต่างชาติก็ได้
- ไม่จำกัดจำนวนการผลิต ซึ่งผู้ผลิตจะผลิตในปริมาณเท่าใดก็ได้
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เบียร์คราฟไทย จึงต้องไปจดทะเบียนไกลถึงต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งจากที่เราได้เห็นเรื่องของเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายของทั้งไทยเองและเวียดนามแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าของทางเวียดนามนั้นเดช่องว่างในการค้าสุราของผู้ผลิตได้กว้างกว่ามาก ทำให้ผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของเบียร์คราฟนั้นเลือกที่จะไปจดทะเบียนที่เวียดนามนั่นเอง
เครดิต www.liquor.com
อ่านต่อที่ 7 ยี่ห้อ เบียร์ยุโรป ชื่ออ่านยาก อยากโปรต้องอ่านให้ถูก